ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมสิ่งแวดล้อมที่ผลิตโดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร

Titleความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมสิ่งแวดล้อมที่ผลิตโดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2564
Authorsกัญญรัตน์ ทรงวรวิทย์, Kanyarat S, สุนทรี โชติดิลก, Suntaree C
Volume12
Issue1
Pagination33-51
Keywordscritical discourse analysis, language and ideology, ภาษากับอุดมการณ์, วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์
Abstract

บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับอุดมการณ์ในวาทกรรมสิ่งแวดล้อมที่ผลิตโดยมูลนิธิสืบนาคะเสถียร โดยศึกษาจากบทความที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียร คือ www.seub.or.th ตั้งแต่บทความแรกที่เผยแพร่จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 จำนวน 464 บทความ โดยอาศัยทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ (critical discourse analysis) ของ Fairclough และแนวคิดเรื่องอุดมการณ์ของ Van Dijk มาเป็นแนวทางในการศึกษากลวิธีทางภาษาที่สื่ออุดมการณ์ และอาศัยแนวทางการพิจารณาองค์ประกอบการสื่อสารของ Dell Hymes หรือ SPEAKING มาใช้เป็นแนวทางการวิเคราะห์วิถีปฏิบัติทางวาทกรรมในการทำความเข้าใจกระบวนการผลิตและการกระจายตัวบท ตลอดจนการรับและตีความตัวบทของผู้บริโภค
ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีทางภาษาที่ใช้สื่ออุดมการณ์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในบทความที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ของมูลนิธิสืบนาคะเสถียรมี 5 กลวิธี ได้แก่ การใช้คำแสดงทัศนภาวะ การใช้อุปลักษณ์ การใช้สหบท การใช้บทประพันธ์ และการใช้คำถามเชิงวาทศิลป์ กลวิธีทางภาษาเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงชุดความคิดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมว่า การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องสำคัญและเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคมที่จะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยตัวบทได้มีการผลิตซ้ำและตอกย้ำให้ผู้อ่านเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ รวมถึงโน้มน้าวใจให้ผู้อ่านเกิดจิตสำนึกในการหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ

ABSTRACT
This paper aimed to study the relationship between language and ideology in environmental discourse produced by Seub Nakhasathien Foundation. The articles published on Seub Nakhasathien Foundation’s website in the past to 31 December 2018 in total of 464 articles were studied. The linguistic strategies were analyzed based on Fairclough’s critical discourse analysis approach and Van Dijk’s social cognitive analysis approach. Regarding the analysis of discourse practice to understand text production and text consumption, the researcher adopted communicative analysis within the framework of SPEAKING model developed by Dell Hymes.
The findings showed that 5 linguistic strategies were adopted to communicate environmental ideology in the articles published on Seub Nakhasathien Foundation’s website. The strategies used were modality, metaphor, intertextuality, poetry, and rhetorical question. These linguistic strategies reflected the mindset that natural resources and environmental conservation is important and it is the duty of everyone in society to help solve environmental problems. The texts has been reproduced and emphasized so that readers realize the importance of conservation. Additionally, the texts also convince readers to give highly value to natural resources.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/12.1jssr3%282%29.pdf
File attachments: