ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3

Titleความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2560
Authorsอ้อย หงษ์เวียงจันทร์, AOY HONGWIENGJUN
Secondary Authorsจิตติรัตน์ แสงเลิศอุทัย, JITTIRAT SAENGLOETUTHAI
Tertiary Authorsพิชญาภา ยืนยาว, PITCHAYAPA YUENYAW
Volume8
Start Page127
Issue1
Keywordsadministrator’s academic leadership, primary education, role performance of teacher, การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของครู, ความเป็นผู้นำทางวิชาการ, ประถมศึกษา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของครูในสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3 จำนวน 388 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำทางวิชาการ อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม ผู้นำการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้นำ ภาวะผู้นำ การบริหารความเสี่ยงและความขัดแย้ง ปฏิสัมพันธ์และพัฒนาเพื่อนร่วมงาน ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา และการนิเทศเพื่อพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้
2. การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของครูในสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์
3. ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม ผู้นำการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมผู้นำ ภาวะผู้นำ การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน การบริหารความเสี่ยงและความขัดแย้ง ปฏิสัมพันธ์และพัฒนาเพื่อนร่วมงาน และการนิเทศเพื่อพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้ได้ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของครูในสถานศึกษา โดยร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 36 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
This research aimed to: 1) study the level of school administrators’ academic leadership; 2) study the level of role performance of teachers; and 3) analyze the school administrators’ academic leadership affecting role performance of teachers. The research sample was administrators and teachers of the government schools under Suphan Buri Primary Education Service Area Office 3, derived by proportional stratified random sampling distributed by district. The research instruments were the questionnaires about academic leadership and role performance of teachers, constructed by the researcher. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, analysis of correlation coefficients and stepwise multiple regression.
The findings of the research were as follows
1. Overall and in specific aspects, the school administrators’ academic leadership was at a high level. These aspects, ranged in the descending order, were as follows: global and societal change, transformational leadership, leader behavior, leadership, educational resources mobilization, relationship between schools and communities, risk and conflict management, interaction and development of colleagues, and supervision for teacher development in learning management.
2. Overall the role performance of teachers was at a high level. When considering each aspect, these aspects were ranged in descending order as follows: organizing instructional activities focusing on permanent results for learners; making decisions to practice various activities taking into account consequences on learners; being committed to developing learners to reach their full potentiality; constructively cooperating with others in community; regularly developing instructional media to be effective; constructively cooperating with others in educational institution; seek and use information for development; regularly practice academic activities relating to development of the professional of teachers; developing teaching plans for effective implementation; systematically reporting on results of learners’ quality development; and creating opportunities for learners to learn under all circumstances.
3. The school administrators’ academic leadership in the aspects of global and societal change, transformational leadership, leader behavior, leadership, educational resources mobilization, relationship between schools and local communities, risk and conflict management, interaction and development of colleagues and supervision for teacher development in learning management together predicted the role performance of teachers at the percentage of 36 with statistical significance at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/9.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%208%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%201%20%288.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%207%29.pdf