ผลการใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขนมสาลี่สุพรรณบุรีเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2

Titleผลการใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขนมสาลี่สุพรรณบุรีเพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2558
Authorsอาภรณ์ นรัญดา, ARPORN NARUNDA
Secondary Authorsอัมรินทร์ อินทร์อยู่, AMMARIN INYOO
Tertiary Authorsสมปอง ทองงามดี, SOMPONG THONGNGAMDEE
Volume6
Start Page166
Issue2
Keywordsactivity kit, khanom salee of Suphan Buri, kindergarten 2 student, science laboratory, ขนมสาลี่สุพรรณบุรี, ชุดกิจกรรม, นักเรียนชั้นอนุบาล, ปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สำรวจและตรวจสอบองค์ความรู้วิธีการทำขนมสาลี่จากภูมิปัญญาในท้องถิ่นสุพรรณบุรี 2) สร้างชุดกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ และ 3) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัดหนองยายทรัพย์ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่องขนมสาลี่สุพรรณบุรี และแบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนีประสิทธิผล และค่าประสิทธิภาพแบบทวิเกณฑ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. ได้องค์ความรู้วิธีการทำขนมสาลี่จากภูมิปัญญาในท้องถิ่นสุพรรณบุรี ที่สามารถนำมาใช้ออกแบบสร้างชุดกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ เรื่อง ขนมสาลี่สุพรรณบุรีให้เหมาะสมกับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2
2. ชุดกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.67 และค่าประสิทธิภาพแบบทวิเกณฑ์ 75.29-73.11 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์
3. ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) investigate and verify the knowledge of making Khanom Salee (steamed egg cake), the local wisdom of Suphan Buri Province; 2) create the efficiency of the scientific laboratory activity kit for kindergarten 2 students to meet the set criterion; and 3) study the effect of using scientific laboratory activity kit in the title of Khanom Salee of Suphan Buri to develop the ability in science learning before and after the learning activities. The target group was 21 kindergarten 2 students in the first semester of 2014 of Wat Nong Yai Sub school, U–Thong district, Suphan Buri Province. The research tools consisted of scientific laboratory activity kit in the title of Khanom Salee of Suphan Buri and the ability in science learning evaluation form, constructed by the researcher. The data were analyzed through percentages, mean, effectiveness index and double percentage.
The findings of the research were as follows:
1. The knowledge of making Khanom Salee, which is local wisdom of Suphan Buri Province, can be used effectively by teachers to create the scientific laboratory activity kit for kindergarten 2 students.
2. The efficiency of scientific laboratory activity kit met the effectiveness index at 0.67 and double percentage at 75.92-73.11, that are higher than the set criterion.
3. The students’ ability in science learning after being taught by the scientific laboratory activity kit was higher than that of before.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/11.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%206%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%202%20%286.2%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%209%29.pdf