การศึกษาชะครามเพื่อสร้างบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Titleการศึกษาชะครามเพื่อสร้างบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2558
Authorsรุ่งเรือง สังหร่าย, RUNGREANG SANGRAY
Secondary Authorsสมปอง ทองงามดี, SOMPONG THONGNGAMDEE
Tertiary Authorsอัมรินทร์ อินทร์อยู่, AMMARIN INYOO
Volume6
Start Page101
Issue1
Keywordsscience laboratory direction, science laboratory skills, Seablite, ชะคราม, ทักษะปฏิบัติการวิทยาศาสตร์, บทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
Abstract

บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นชะคราม ในเรื่อง พฤกษศาสตร์เบื้องต้น ระบบนิเวศ การตรวจสอบสารอาหาร และการแปรรูป ชะคราม 2) สร้างบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง ชะครามในสมุทรสาคร ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 3) ศึกษา ผลการใช้บทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์โดยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์และทักษะปฏิบัติการวิทยาศาสตร์กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/3 โรงเรียนวัดนางสาว ตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวนนักเรียน 34 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 2) คู่มือประกอบบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 3) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการสอนบทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่สร้างโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับต้นชะคราม ได้แก่ พฤกษศาสตร์เบื้องต้น ระบบนิเวศ การตรวจสอบสารอาหาร และการแปรรูปชะคราม มีความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
2. บทปฏิบัติการวิทยาศาสตร์เรื่อง ชะครามในสมุทรสาคร มีประสิทธิภาพ โดยมีค่าดัชนี ประสิทธิผล เท่ากับ 0.64 และมีค่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์
3. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีทักษะปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี

ABSTRACT
The objectives of this research were to: 1) study the body of scientific knowledge of Seablite on botany, ecosystem, nutritional examination and Seablite processing, 2) construct effective science laboratory direction on “Seablite in Samutsakorn” to meet the set criterion and 3) study the effects of science laboratory direction considering efficiency of students’ science learning achievement and science laboratory skills. Research sample consisted of 34 Prathomsuksa 6/3 students in the second semester of academic year 2013 from Wat Nang Sao School, Tambon Tha Mai, Amphoe Krathum Baen, Samut Sakhon Province, derived by cluster random sampling method. The instruments constructed by the researcher were: 1) science laboratory direction, 2) science laboratory manuals 3) science lesson plans 4) science achievement test and 5) laboratory skills test. The data were analyzed through percentages, mean, standard deviation and t-test.
The research findings were as follows:
1. The body of scientific knowledge of Seablite on botany, ecosystem, nutritional examination and Seablite processing, was correlated with content standards, key performance indicators in Science and science learning content.
2. The efficiency of science laboratory direction on “Seablite in Samutsakorn” met the effectiveness index at 0.64 and also met the set criterion.
3. The students’ learning achievement on Science after the experiment were higher than those of before with statistically significant differences at .01, and students’ science practical skills were at a good level.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/8.%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%206%20%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%201%20%286.1%20%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%2