สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

Titleสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2560
Authorsปรียาภัทร ราชรักษ์, PREEYAPHAT RATCHARAK
Secondary Authorsนภาภรณ์ ยอดสิน, NAPAPORN YODSIN
Tertiary Authorsนภาเดช บุญเชิดชู, NAPADECH BOONCHERDCHOO
Volume8
Issue2
Keywordsadministrator’s competency, internal quality assurance, primary education, การประกันคุณภาพภายใน, ประถมศึกษา, สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษา
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และ 3) วิเคราะห์สมรรถนะ ผู้บริหารสถานศึกษาซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถาน ศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครปฐม เขต 1 จำนวน 320 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามขนาด ของสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน เรียง ลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริการที่ดี การทำงานเป็นทีม การพัฒนาตนเอง การคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การสื่อสารและการจูงใจ และ การมีวิสัยทัศน์
2. การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพ รวมและรายด้าน เรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การจัดทำแผนพัฒนา การจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา การดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา การจัดระบบบริหารและสารสนเทศ การจัดทำ รายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
3. สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การมี วิสัยทัศน์ การทำงานเป็นทีม การคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ และการสื่อสารและการจูงใจ เป็นปัจจัย ที่ส่งผลต่อ การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 75.40 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ABSTRACT
This research aimed to: 1) study the level of the administrators’ competency; 2) identify the implementation level of school internal quality assurance; and 3) analyze the administrators’ competency affecting the implementation of school internal quality assurance. The research sample was 320 teachers of schools under Nakhon Pathom Primary Educational Service Area Office 1, derived by proportional stratified random sampling as distributed by school size. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression.
The findings of this research were as follows:
1. Overall and in specific aspects, the administrators’ competency was at a high level. These aspects, ranked from the highest to the lowest, were as follows: achievement motivation, service mind, team working, self-expertise development, analytical thinking and critical thinking, potential development, communication and influencing, and visioning.
2. Overall and in specific aspects, the school internal quality assurance was at a high level. These aspects, ranked from the highest to the lowest, were as follows: determination of schools’ education standards, assessment of schools’ internal quality assurance, preparation of schools’ education plan with emphasis on school quality standards, implementation of plans to improve school quality standards, organization of management and information system, preparation of annual reports on internal quality assurance assessment, continual development of education quality, and monitor and examination of education quality.
3. The administrators’ competency in the aspects of potential development, visioning, team working, analytical thinking and critical thinking, and communication and influencing together predicted the implementation of school internal quality assurance at the percentage of 75.40 with statistical significance at .01.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/8.2article3.pdf