การพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร

Titleการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2560
Authorsนันท์นภัส ศรีประเทศ, NANNAPAS SRIPRATHED
Secondary Authorsสจีวรรณ ทรรพวสุ, SAJEEWAN DARBAVASU
Volume8
Issue2
Keywordsbasic educational institution, personnel development, การพัฒนาบุคลากร, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Abstract

บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการพัฒนาบุคลากรจำแนกตามขนาด ของสถานศึกษา (2) เปรียบเทียบการพัฒนาบุคลากร จำแนกตามขนาดของสถานศึกษา และ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 291 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) เมื่อพบว่ามีความแตกต่างทำการวิเคราะห์ ด้วยเทคนิค LSD ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาบุคลากรจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาอยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวม รายด้านและทุกเรื่องของแต่ละด้าน สำหรับทุกขนาดของสถานศึกษา
2. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาบุคลากรจำแนกตามขนาดของสถานศึกษาโดยรวมและ รายด้านแต่ละด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน ยกเว้นเรื่องการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนา ตนเองด้านคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงานในด้านการดำเนินการพัฒนาบุคลากร ที่สถานศึกษา ขนาดใหญ่พิเศษและขนาดใหญ่ มีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดกลาง และเรื่องบุคลากร มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการนิเทศบุคลากร ในด้านการสนับสนุน และนิเทศการพัฒนาบุคลากร ที่สถานศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ มีการปฏิบัติมากกว่าสถานศึกษาขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. แนวทางการพัฒนาบุคลากร ควรดำเนินการในเรื่องนโยบาย เป้าหมายและแผนงาน อย่างชัดเจน สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการและเป้าหมายการพัฒนาโรงเรียน การส่งเสริมให้บุคลากร มีส่วนร่วม ดำเนินการก่อนเปิดทำการ การพัฒนาบุคลากรด้วยรูปแบบและวิธีการหลากหลาย อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ครอบคลุมและทั่วถึง การส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาตนเอง การสนับสนุน สื่อเทคโนโลยีอย่างเพียงพอ ทันสมัยและเข้าถึงได้ง่าย การจัดงบประมาณสนับสนุนอย่างเพียงพอ การแต่งตั้งคณะกรรมการนิเทศภายใน การนิเทศบุคลากรเป็นระยะ ๆ ตลอดปี การจัดเอกสาร การนิเทศอย่างชัดเจน ครอบคลุม และมีข้อมูลสารสนเทศอย่างเป็นระบบ การวัดผลและประเมินผล ตามสภาพที่เป็นจริง การจัดเอกสารคู่มือตรวจวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน มีรูปแบบการประเมิน ที่ถูกต้องตรงตามแบบและเป้าหมายของแผนพัฒนาบุคลากร การวัดผลประเมินผลอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่องและแจ้งผลให้ทราบพร้อมคำแนะนำ การจัดทำสรุปผลการประเมินในสิ้นปีการศึกษา อย่างต่อเนื่อง และมีการแปลผลเพื่อนำไปพัฒนา

ABSTRACT
The purposes of this research were to: (1) study the personnel development as classified by school size; (2) compare the personnel development as classified by school size; and 3) propose guidelines for personnel development of schools under Bangkok Metropolitan Primary Educational Service Area Office. The data were collected from 291 administrators and teachers, and were analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation, and one way ANOVA. LSD technique was used when the difference was founded. Data from the interview were analyzed by content analysis.
The research findings revealed as follows:
1. Overall and specific aspect, the level of personnel development was at a high level for all school sizes.
2. A comparison of personnel development as classified by school sizes, overall and in specific aspects, there was no difference. However, extra-large schools and large schools had more implementation in organizing activities to promote personnel self-development in moral and ethical aspect than medium-sized schools. Moreover, extra-large schools had more participation in supervising activities in the aspect of supporting and supervising personnel development than medium-sized schools with statistical significant level of .05.
3. The personnel development guidelines should be clear implementation about policy, goal, and plan in accordance with the operational plan and school development’s target; promotion of personnel participation; operation prior to school opening; continual personnel development with various models and methods in all aspects and levels; encouragement of personnel self-development; technology support with sufficiency, modernness and easy access; adequate budget allocation; appointment of internal supervising committee; regular personnel supervising all year; organization of clear and comprehensive supervising documents with systematic information; authentic assessment and evaluation; preparation of effective measurement and evaluation manual; verified assessment model in accordance with goals of personnel development plan; systematic and continual measurement and evaluation; evaluation results and suggestion informing; preparation of evaluation result summary at the end of every semester; and result interpretation for development.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/8.2article9.pdf