การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

Titleการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกทักษะ
Publication TypeJournal Article
Year of Publication2560
Authorsเจษฎา บุญมาโฮม, JESADA BOONMAHOME
Secondary Authorsธิติรัตน์ รุ่งเจริญเกียรติ, THITIRUT RUNGCHAROENKIAT
Volume8
Issue2
Keywordsexercises, reading for main idea, การอ่านจับใจความสำคัญ, แบบฝึกทักษะ
Abstract

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการเรียนโดยใช้ แบบฝึกทักษะ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญระหว่างกลุ่ม ทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน วัดห้วยจรเข้วิทยาคม จังหวัดนครปฐม จำนวน 59 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบฝึกทักษะ และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่สร้างโดยผู้วิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกทักษะ หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านจับใจความสำคัญหลังการเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ABSTRACT
The purposes of this research were to: 1) compare Thai language learning achievement of students on reading for main idea before and after learning by using language exercises; 2) compare Thai language learning achievement of the students with the set criterion of 80%; and 3) compare Thai language learning achievement of the students between experimental group and control group. The sample was 59 Matayomsuksa 3 students at Wat Huai Chorakhe Phitthayakhom School in Nakhon Pathom Province, derived by multi-stage random sampling. The students was divided into 2 groups: 30 for experimental groups and 29 for control groups. The research instruments were language exercises and learning achievement tests constructed by the researcher. Data were analyzed with mean, standard deviation and t-test.
The results were as follows:
1. The students’ Thai language learning achievement on reading for main idea after learning by using the language exercises was higher than that of before with statistical significance at .05.
2. The students’ Thai language learning achievement on reading for main idea by using the language exercises was higher than the set criterion of 80 %.
3. The experimental group’s learning achievement was higher than that of the control group with statistical significance at .05.

URLhttp://dept.npru.ac.th/jssr/data/files/8.2article10.pdf